สมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรค


สมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกันต้านโรคได้ดีหนึ่งในนั้นก็คือใบบัวบก

 ใบบัวบก มีฤทธิ์ลดไข้ ใบบัวบกมีฤทธิ์เย็น  แก้อาการเจ็บคอได้ด้วย มีการศึกษพบว่าใบบัวบกมีฤทธิ์ลดการอักเสบในช่องปาก ลดการบวม และลดการอักเสบที่ผิวหนังได้ด้วย

ใบบัวบก มีสาร asiaticoside ที่ช่วยสมานแผลผิวหนังเมื่อสกัดผสมในรูปเจล ในอนาคตเราอาจจะเห็นการใช้สารสกัดใบบัวบกอยู่ในผลิตภัณฑ์ต่างๆอีกมากมาย


 สำนักข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 

เรื่องของหัวไชเท้ากับฝ้าบนใบหน้า


 

การนำหัวไชเท้าสดๆมารักษาฝ้า

 หัวไชเท้า สามารถลดอาการฝ้าบนใบหน้า ต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการอักเสบของสิวทำให้สิวแห้งไว ช่วยลดรอยด่างดำและผิวหมองคล้ำจากแสงแดดจึงทำให้หน้าใสกระจ่างขึ้น 

นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติผลัดเซลล์ผิว พร้อมช่วยทำความสะอาดรูขุมขน ลดปัญหาการเกิดสิวได้ด้วย

วิธีทำ และ วัตถุดิบต่างๆมีดังนี้  น้ำหัวไชเท้า 1 ช้อนชา แตงกวาปั่น 1 ลูก นมสด 1 ช้อนโต๊ะ

นำน้ำหัวไชเท้าแช่ให้เย็นจัดเพื่อลดฤทธิ์ร้อน จากนั้นนำส่วผสมทั้งหมดมาผสมกัน ใช้สำลีชุบน้ำมาเช็ดหน้า พอกทิ้งไว้ 5 นาที 

จากนั้นล้างออกให้สะอาดด้วยน้ำเย็น ทำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ฝ้าจะค่อยๆจางหายไปจ้า



 หางจระเข้มีประโยชน์อย่างไรบ้าง?


สรรพคุณของว่านหางจระเข้

ช่วยป้องกันโรคเบาหวาน ด้วยการรับประทานเนื้อวุ้น หรือจะทำเป็นน้ำปั่นว่านหางจระเข้มาดื่มก็ได้ ก็จะช่วยบรรเทาอาการและป้องกันโรคเบาหวานได้

ว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ด้วยการตัดใบสดของว่านหางจระเข้แล้วทาปูนแดงด้านหนึ่ง แล้วเอาด้านที่ทาปูนปิดตรงขมับ จะช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะได้ (ใบ)

วุ้นว่านหางจระเข้มีสรรพคุณช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร ช่วยป้องกันและลดการเกิดแผลในกระเพาะขณะท้องว่าง ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารต่าง ๆ

เนื้อว่านหางจระเข้สรรพคุณว่านหางจระเข้ช่วยแก้กระเพาะลำไส้อักเสบ ด้วยการใช้ใบนำมาปอกเปลือกเอาแต่วุ้น นำมารับประทานวันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ (เนื้อวุ้น)

ใช้เป็นถ่าย ยาระบาย ที่เปลือกของว่านหางจระเข้จะมีน้ำยางสีเหลือง ในน้ำยางจะมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย หากนำน้ำยางไปเคี่ยวให้น้ำระเหยออกแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ก็จะได้สารสีน้ำตาลเกือบดำ หรือเรียกว่า "ยาดำ" ซึ่งยาดำนี้เองใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาแผนโบราณที่ต้องการให้มีฤทธิ์เป็นยาระบายอยู่หลายตำรับ (ยางในใบ)

ช่วยรักษาอาการท้องผูก ด้วยการกรีดเอายางจากว่านหางจระเข้มาเคี่ยวให้งวด ทิ้งไว้ให้เย็นจะได้ก้อนยาสีดำ (ยาดำ) แล้วตักมาใช้ประมาณช้อนชา เติมน้ำเดือด 1 ถ้วย แล้วคนจนละลาย โดยผู้ใหญ่รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชาก่อนนอน แต่ถ้าเป็นเด็กให้รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชาก่อนนอน

ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เนื้อวุ้นจากใบเหลาให้เป็นปลายแหลมเล็กน้อย และนำไปแช่ตู้เย็นหรือน้ำแข็งจนเนื้อแข็ง แล้วนำไปใช้เหน็บในช่องทวารหนัก ควรหมั่นทำเป็นประจำวันละ 1-2 ครั้งจนกว่าจะหาย (เนื้อวุ่น)

ช่วยแก้หนองใน (ราก, เหง้า)

ช่วยแก้มุตกิดหรือระดูขาวของสตรี (ราก, เหง้า)

ทั้งต้นของว่านหางจระเข้มีรสเย็น ใช้ดองกับสุรานำมาดื่มช่วยขับน้ำคาวปลาได้ (ทั้งต้น)

CR:ข้อมูลสมุนไพร มหาวิทยาลัยมหิดล